การรับรู้ข้อมูลเรื่องโรคเอดส์


วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลของโรคและอาการต่างๆ ของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

2.เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายของการรับรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วย

โรคเอดส์ค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยรายแรกที่พบมีอาการป่วยแตกต่างจากผู้ป่วยอื่นๆและภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อมไปโดยไม่ทราบสาเหตุทั้งที่ผู้ป่วยรายนี้เคยมีประวัติภูมิคุ้มกันปกติ ต่อมาพบผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการเช่นนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีหลักฐานรายงานว่าโรคเอดส์มีต้นกำเนิดมาจากประเทศในทวีปแอฟริกา เชื่อกันว่ามีผู้ป่วยตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๐ แล้วแพร่กระจายไปยังเกาะไฮติต่อมามีการแพร่ระบาดขึ้นในทวีปอเมริกาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และประเทศ กลุ่มสแกนดิเนเวีย ปัจจุบันมีรายงานว่าเอดส์แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกมากกว่า 163 ประเทศ เชื้อเอชไอวีเอดส์ เป็นไวรัสในกลุ่ม Retrovirus สันนิษฐานว่าพัฒนาตัวเองมาจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเฉพาะในสัตว์เท่านั้นต่อมา ค่อยๆทำให้เกิดโรคในสัตว์ที่ใกล้เคียงกับคนเช่นลิง โดยเฉพาะลิงเขียว ในทวีปแอฟริกา หรือ Afarican green monkey หลังจากนั้นไวรัสเหล่านี้อาจติดมาในคน ระยะแรกเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ต่อมาจึงเกิดเป็นโรคเอดส์ที่เป็นเฉพาะในคนเท่านั้นอย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานยืนยันที่มาของเชื้อโรคเอดส์อย่างชัดเจน องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันเอดส์โลกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนให้ความเห็นใจและห่วงใยต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยตลอดจนให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์อันจะเป็นแนวทางที่จะทำให้การขายตัวของโรคนี้ลดน้อยลง


สถานการณ์โรคเอดส์ประเทศไทย

• โรคเอดส์เป็นต้นเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในประชากรวัยเจริญพันธุ์

• มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์กว่า 1 ล้านคนในประเทศไทย

• มีเด็กกำพร้าที่พ่อหรือแม่ตายด้วยโรคเอดส์จำนวน 380,000 คน


เชื้อเอชไอวีไม่สามารถติดต่อกันได้ทาง

• การจับมือกัน

• การรับประทานอาหารร่วมกัน

• การว่ายน้ำในสระเดียวกัน

• การกอดจูบกัน เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อผ่านทางน้ำลายได้เมื่อดื่มน้ำลายของผู้มีเชื้อเอชไอวีมากถึง 8 ลิตร

• การใช้เสื้อผ้าร่วมกัน

• การใช้ห้องน้ำเดียวกัน

• และไม่แพร่เชื้อโดยยุง


ธรรมชาติของเชื้อเอชไอวี

• อยู่ในคนเท่านั้น(คนเป็นพาหนะในการแพร่/รับเชื้อ)

•ไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายคน

• เชื้อเอชไอวีจะเกาะอยู่กับเม็ดเลือดขาว ทีเซล (T•cell)


ปริมาณเชื้อเอชไอวี

เชื้อเอชไอวี มีอยู่ใน “น้ำคัดหลั่ง” ซึ่งมีอาหารและสภาพที่เหมาะสม (น้ำคัดหลั่งคือน้ำในร่างกายที่มีส่วนประกอบของเซลเม็ดเลือดขาว)


จำนวนเชื้อในน้ำคัดหลั่งแต่ละอย่างมีปริมาณต่างกัน

เลือดสด/น้ำเหลือง มากที่สุด

น้ำอสุจิ/น้ำในช่องคลอด ปานกลาง

น้ำลาย/น้ำนม น้อยมากๆ

อุจจาระ/ปัสสาวะ น้อยจนเกือบไม่มี


การที่คนๆ หนึ่งจะได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัย

1.แหล่งที่อยู่ของเชื้อ เชื้อเอชไอวีอยู่ในคนเท่านั้น (จะเกาะอยู่กับเม็ดเลือดขาว) เชื้อเอชไอวีจะอยู่ในสารคัดหลั่งบางอย่างในร่างกายของคนที่มีเชื้อเอชไอวีเช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำนมแม่

2.ปริมาณและคุณภาพของเชื้อ ต้องมีจำนวนเชื้อเอชไอวีในปริมาณที่มากพอ เชื้อเอชไอวีต้องมีคุณภาพพอ *เชื้อเอชไอวีไม่สามารถอยู่นอกร่างกายได้ *สภาพในร่างกายและสภาพแวดล้อมบางอย่างมีผลทำให้เชื้อไม่สามารถอยู่ได้เช่น กรด น้ำลาย กระเพาะอาหาร สภาพอากาศ ความร้อน ความแห้งแล้ง น้ำยาต่างๆ

3.ช่องทางการติดต่อ ไวรัสเอชไอวีจะต้องถูกส่งผ่านจากคนที่ติดเชื้อไปยังอีกคนหนึ่ง โดยเชื้อจะต้องตรงสู่กระแสเลือด ช่องทางการติดต่อ


เชื้อเอชไอวีจะถูกส่งผ่านจากคนที่มีเชื้อ ไปยังคนที่ยังไม่ได้รับเชื้อได้เพียง 3 ทาง

1.การมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย

2.การสัมผัสเลือดโดยตรงเช่น ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

3.จากแม่สู่ลูก

ชองทางการติดต่อจากแม่สู่ลูก ลูกมีโอกาสติดเชื้อประมาณ 30% ซึ่งอาจเกิดขึ้นในท้อง ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด เชื้อเอชไอวีกับสุขภาพของลูกขณะตั้งครรภ์ หากสามีหรือภรรยาคนใดคนหนึ่งติดเชื้อเอชไอวีหรือติดทั้งคู่ และภรรยากำลังตั้งครรภ์ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์และได้รับการดูแลตั้งแต่แรกว่าจะป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูกในครรภ์ได้อย่างไร การรักษาด้วยยาชิโดวูดีนหรือ เอแซททีหรือยาต้านไวรัสและไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้



1 2 3 4