ตามหัวข้อเลยครับจะได้ฉลองแต่ผมมีอะไรจะมาเล่าต่อ
วันเกิดเป็นวันที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคนเรา
ก็เพราะว่า...เป็นวันที่เราได้รับลมหายใจ
และเป็นวันที่ชีวิต(นอกท้องแม่)ของพวกเราได้เริ่มต้นบนโลกใบนี้
หากว่าวันนั้น แม่ไม่ยอมให้เราออก หรือว่า วันนั้น เราออกจากท้องแม่มาไม่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
วันนี้ ก็จะไม่มีพวกเราที่ชื่อนั้นชื่อนี้แน่นอน...
และเพราะเหตุที่มีวันนั้นนั่นแหละ พวกเราทุกคนจึงมีวันนี้ (วันที่ได้ วันที่มี วันที่เรียนรู้ วันที่เจ็บปวด ฯลฯ)
ขาดวันนั้นเสียแล้ว (วันเกิด) ชีวิตพวกเราคงไม่ได้โอกาสเห็น,ได้ยินและรับรู้สิ่งต่างๆในโลกใบนี้แน่นอน
...
ทีนี้ วันเกิดมีความหมายอย่างไรบ้าง ?
เท่าที่คิดๆ ดูนี่ วันเกิดน่าจะมีความหมาย ดังนี้
๑. วันเกิด คือ วันแห่งโอกาส (โอกาสได้ลืมตาดูโลก,โอกาสได้กตัญญู, โอกาสได้ทบทวนชีวิต ฯลฯ)
๒. วันเกิด คือ วันมหัศจรรย์ พ่อแม่ดีใจ และได้รู้ว่า การมีลูกสักคนนี่ เิกิดอะไรขึ้นในใจบ้าง
๓. วันเกิด คือ วันโชคดี โชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ทั้งๆ ที่มีชนิดและประเภทแห่งสัตว์มากมายที่เราอาจได้ไปเกิด
๔. วันเกิด คือ วันเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นทำความดีเพื่อชีวิตให้มากที่สุดกับเวลาที่เหลืออยู่
๕. วันเกิด คือ วันสำนึกตน สำนึกตนเองว่า เราเกิดมาเพราะใคร ควรทำตัวอย่างไรให้น่าอยู่บนโลก ทำตัวอย่างไรให้สมค่ากับความเป็นคน
๖. วันเกิด คือ วันที่ธรรมชาติได้กำหนดให้เป็นจุดเชื่อมระหว่างใจพ่อแม่กับลูก คือ เมื่อนึกถึงวันเกิด ลูกก็จะคิดถึงแม่และพ่อ
๗. วันเกิด คือ วันครู หมายความว่า วันเกิดได้สอนให้เรารู้วา ใครรักเราบ้าง เราเป็นหนี้้ชีวิตใครบ้าง และการเกิดเป็นทุกข์หรือสุขอย่างไร
๘. วันเกิด คือ วันขอบคุณ หมายความว่า เราต้องขอบคุณที่บุญกุศลส่งผลให้เรามีวันนั้น และขอบคุณแม่ที่อุ้มท้องเรามาจนคลอดและเลียงดูจนเติบโต
๙. วันเกิด คือ วันล้ออายุ หมายความว่า ล้อแห่งอายุได้หมุนเคลื่อนรอบเพิ่มขึ้นมากๆๆ
๑๐. วันเกิด คือ วันแห่งความไม่ประมาท หมายความว่า ไม่ประมาทในการมีชีวิต การใช้ชีวิต เห็นคุณค่าของการมีชีวิตและใช้ชีวิตเพื่อสร้างประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม ประเทศชาติ
เอาล่ะ....คงจาระไนเพียงเท่านี้ก่อน
ท่านใดที่คิดได้เพิ่มเติมก็แบ่งปันกันบ้างนะ
หวังว่าจะให้ประโยชน์แก่ทุกท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย
ส่วนใหญ่คนไทยมีความเชื่อเรื่องสีประจำวันเกิดว่าเป็นสีมงคล วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีความรู้เรื่องนี้มาฝากกัน...
คนไทยส่วนมากเชื่อว่าสีประจำวันเกิดเป็นสีมงคลประจำตัว และมักจะใช้เสื้อผ้าและเครื่องใช้ตามสีประจำวันเกิด ความเชื่อเช่นนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดียเพราะชาวอินเดียเชื่อว่าพระอิศวร เป็นผู้สร้างเทพเจ้าประจำวันขึ้นมา และสีประจำวันนั้นมาจากสีกายของเทพเจ้า ซึ่งมีที่มาดังต่อไปนี้
พระอาทิตย์มีกายสีแดง เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้ราชสีห์ ๖ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีแดง ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระจันทร์มีกายสีเหลือง เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้นางฟ้า ๑๕ นาง กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีเหลือง ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระอังคารมีกายสีชมพู เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้กระบือ ๘ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีชมพู ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระพุธมีกายสีเขียว เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้ช้าง ๑๗ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีเขียว ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระพฤหัสบดีมีกายสีแสด เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้พระฤๅษี ๑๙ ตน กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีแสด ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระศุกร์มีกายสีน้ำเงิน เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้โค ๒๑ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีน้ำเงิน ประพรมด้วยน้ำอมฤต
พระเสาร์มีกายสีดำ เกิดจากพระอิศวรร่ายพระเวทให้เสือ ๑๐ ตัว กลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีดำ ประพรมด้วยน้ำอมฤต
ตอนนี้ก็คงจะทราบกันแล้วว่า สีประจำวันเกิดตัวเองมีที่มาอย่างไร
ที่มาของ พระประจำวันเกิด
October 9, 2010
Trang Suwannasilp ชาดก, ธรรมะ ข้อธรรมคำสอน, ธรรมะ, ปางถวายเนตร, ปางนาคปรก, ปางรำพึง, ปางสมาธิ, ปางห้ามญาติ, ปางอุ้มบาตร, ปางโปรดอสุรินทราหู, พระประจำวัน, พุทธประวัติ 1 Comment
ใครคิด
เคยไดยินมาครับว่า พระประจำวัน เริ่มมีมาในสมัยรัชกาลที่๔ แต่ว่าผมก็จำที่มาไม่ได้แล้วนะครับ ถ้าใครเจอ Reference เชื่อถือได้ ก็ช่วยแนะนำมาด้วยนะครับ
โดยรัชกาลที่๔ ท่านเป็นห่วงประชาชนที่งมงายในโหราศาสตร์ แต่ครั้นจะไปเปลี่ยนชาวบ้านก็จะยาก ท่านเลยคิดขึ้นมาว่า กระนั้นเลย เค้าจะเชื่อก็เชื่อไป แต่เราต้องหาอุบายให้คนเข้าวัด มาศึกษาธรรม
ท่านเลยคิดค้น ปางของพระพุทธรูปประจำวันขึ้นมา โดยเจตนาให้ ชาวบ้านเมื่อดูดวงเสร็จแล้ว ต้องการสะเดาะห์เคราะห์เสริมดวง ก็จะเข้าวัดมาทำบุญกับพระ
ซึ่งนี้ก็เป็นโอกาสดีที่พระจะได้สอนธรรมะจริงๆให้กับโยม
ทำไมพระปางนั้น เหมาะกับวันเกิดวันนี้?
รัชกาลที่๔ ท่านเป็นปราชญ์ครับ ทั้งทางโหราศาสตร์ และ พุทธศาสนา ท่านเลย มาดูว่า ตามดวงแล้วคนเกิดวันนั้นๆ จะมีข้อเสีย ข้อพีงระวังอะไรบ้าง แล้วท่านก็เลือกเอาปางพระพุทธรูป ที่มีเรื่องราวเป็นข้อคิดสอนใจให้กับคนวันนั้นๆ เพื่อที่ว่า เวลาชาวบ้านกราบไหว้แล้ว จะย้อนมาเตือนใจตัวเอง
แต่มาทุกวันนี้คน ก็ลืมไปหมดแล้วครับ ว่าที่มาของพระแต่ละปางเป็นยังไง บางทีลืมกระทั่งว่า ที่มาของปางนั้นๆ เกิดจากพระพุทธเจ้าท่านทำอะไร…..
แต่ละปางมีความหมายต่อวันเกิดแต่ละวันยังไง?
ผมเขียนๆลบๆตอนนี้อยู่หลายรอบครับ เพราะผมว่า ความหมายของพระแต่ละปางนั้นละเอียดอ่อนมาก ยิ่งคิดยิ่งลิึกซึ่งยิ่งกว่าที่เคยเข้าใจ …. ผมว่า ทุกๆท่าน ลองไปศึกษาประวัติพระประจำวันเกิดของแต่ละท่านดูนะครับ แล้วลองคิดเป็นปริศนาธรรมดูว่า พระปางนั้นๆ มีข้อคิดอะไรเตือนใจท่านได้บ้าง พระปางนั้นๆจะส่งเสริมดวง ส่งเสริมชีวิตท่านได้อย่างไร
******************************
ขอบคุณรายละเอียด และ รูปพระแต่ละปางจากลิ้งนี้ครับ
http://www.dhammathai.org/thailand/phraofday.php
******************************
พระประจำวันอาทิตย์
พระประจำวันอาทิตย์ “ปางถวายเนตร”
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
ประวัติ
หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงได้ประทับเสวยวิมุตติสุข ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 7 วัน จากนั้นเสด็จไปทรงยืนอยู่กลางแจ้ง ทางทิศอีสานอของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงทำอุปหาร คือ ยืนทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร โดยนัยว่า ท่านระลึกถึงบุญคุณของต้นศรีมหาโพธิ์ที่ท่านได้อาศัยต้นไม้เป็นที่พำนักให้ ตรัสรู้
อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธเจ้าใช้เวลาเดินทางกี่วันหลังจากตรัสรู้ เพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์?
พระประจำวันจันทร์
พระประจำวันจันทร์ “ปางห้ามญาติ”
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม
ประวัติ
ครั้งหนึ่งเมื่อเหล่าญาติของพระพุทธเจ้า (ญาติฝั่งพระบิดา และ ญาติฝั่งพระมารดา) เกิดการทะเลาะวิวาทกันเพราะเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำเนื่องจากฝนแล้ง จนเกือบ กลายเป็นศึกสงครามระหว่างกัน
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปห้ามสงคราม โดยตรัสให้เห็นถึงความไม่สมควรที่ต้องมาฆ่าฟันกันด้วยเพียงแค่การแย่งน้ำ เข้านา และได้ตรัสเตือนสติว่า ระหว่างน้ำกับความเป็นพี่น้อง อะไรสำคัญยิ่งกว่ากัน ทั้งสองฝ่ายจึงได้สติ คืนดีกัน
อ่านเพิ่มเติม
[ภาพที่ ๕๙] ทรงห้ามพระญาติฝ่ายพระบิดากับฝ่ายพระมารดา ซึ่งแย่งกันทดน้ำเข้านา มิให้วิวาทกัน
พระประจำวันอังคาร
พระประจำวันอังคาร “ปางโปรดอสุรินทราหู”(ปางไสยาสน์)”
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
ประวัติ
อสุรินทราหู ได้เข้าฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยไม่นอบน้อม เพราะสำคัญว่าตนร่างกายใหญ่โตกว่าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ต้องการจะลดทิฐิ มานะของอสุรินทราหู จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตและนอนสีหไสยาสน์อยู่ จนอสุรินทราหูต้องแหงนคอเพื่อชมพุทธลักษณะ
จากนั้นทรงนำอสุรินทราหูขึ้นไปยังพรหมโลก พรหมทั้งหลายต่างมีร่างกายเล็กกว่าพระพุทธเจ้า และ มองอสุรินทราหูเหมือนมนุษย์ดูมดปลวก อสุรินทราหูเกิดความกลัวจนต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ และ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์
พระประจำวันพุธ
พระประจำวันพุธ “ปางอุ้มบาตร”
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว
ประวัติ
พระพุทธเจ้าได้กลับพระนครของพุทธบิดา ทรงแสดงธรรมเรื่องเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติ ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์ทรงเสด็จบิณฑบาตเพื่อโปรดมหาชน ตามตรอกซอกซอย ซึ่งเป็นพุทธประเพณีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติ
อ่านเพิ่มเติม
[ภาพที่ ๔๘] เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น จึงชี้ให้พระราหุลดูตรัสว่า “นั่นคือบิดาของเจ้า”
[ภาพที่ ๔๙] พระพุทธบิดาทราบข่าว ก็เสด็จมาตัดพ้อ ทูลขอให้เสด็จไปประทับเสวยในวัง
พระประจำวันพฤหัสบดี
พระประจำวันพฤหัสบดี “ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้”
พระ พุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ประวัติ
หลังจากที่พระองค์ชนะพระยามารแล้ว พระองค์ได้นั่งสมาธิภาวนาต่อ จนตรัสรูเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อ่านเพิ่มเติม
[ภาพที่ ๒๗] พอรุ่งอรุณก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เทวดาฝ่ายฟ้อนร่อนรำถวายเป็นพุทธบูชา
พระประจำวันศุกร์
พระประจำวันศุกร์ “ปางรำพึง”
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ประวัติ
ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร พระจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาแล้วก็ทรงอธิษฐานว่าจะแสดงธรรมสั่งสอนโปรดเหล่า สัตว์
อ่านเพิ่มเติม
[ภาพที่ ๓๓] ทรงคำนึงถึงอุปนิสัยเวไนยสัตว์ เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า จึงรับอาราธนา
พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเสาร์ “ปางนาคปรก”
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือ พระเศียร
ประวัติ
สัปดาห์ที่ ๖ หลังจากตรัสรู้ ทรงสด็จประทับ ใต้ต้นจิก ได้เกิดฝนตกกระหน่ำ พระยานาคชื่ออหินาคราชได้มาพบ ต้องการสรา้งบุญกุศลจึงขนดกาย ๗ รอบ โอบล้อมแล้วแผ่พังพานป้องพระวรกาย ปิดกั้นลมฝนถวายอยู่ตลอด ๗ วัน
อ่านเพิ่มเติม
[ภาพที่ ๒๙] ย้ายไปประทับโคนไม้จิก ฝนตกพรำ พญานาคมาขดขนดปกพระกายกำบังฝน
******************************
วันเกิดผม24 เมษายน2543 ครับต่อไปเชิญคนที่จะเขียนอะไรก็เขียนไปเลยครับ
ปล.โทษที่ครับที่เอารูปมาไม่ได้มันเยอะ