เศรษฐีคนหนึ่งชอบใจลูกสาวชาวนายากไร้ผู้หนึ่ง
เขาเชิญชาวนากับลูกสาวไปที่สวนในคฤหาสน์ของเขา เป็นสวนกรวดกว้างใหญ่ที่มีแต่กรวดสีดำกับสีขาว
เศรษฐีบอกชาวนาว่า "ท่านเป็นหนี้สินข้าจำนวนหนึ่ง แต่หากท่านยกลูกสาวให้ข้า จะยกเลิกหนี้สินทั้งหมดให้"
ชาวนาไม่ตกลง
เศรษฐีบอกว่า " ถ้าเช่นนั้นเรามาพนันกันดีไหม ข้าจะหยิบกรวดสองก้อนขึ้นมาจากสวนกรวดใส่ในถุงผ้านี้ ก้อนหนึ่งสีดำ ก้อนหนึ่งสีขาว ให้ลูกสาวของท่านหยิบก้อนกรวดจากถุงนี้ หากนางหยิบได้ก้อนสีขาว ข้าจะยกหนี้สินให้ท่าน และนางไม่ต้องแต่งงานกับข้า แต่หากนางหยิบได้ก้อนสีดำ นางต้องแต่งงานกับข้า และแน่นอน ข้าจะยกหนี้ให้ท่านด้วย"
ชาวนาตกลง
เศรษฐีหยิบกรวดสองก้อนใส่ในถุงผ้า หญิงสาวเหลือบไปเห็นว่ากรวดทั้งสองก้อนนั้นเป็นสีดำ
เธอจะทำอย่างไร?
หากเธอไม่เปิดโปงความจริง ก็ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกง หากเธอเปิดโปงความจริง เศรษฐีย่อมเสียหน้า และยกเลิกเกมนี้ แต่บิดาของเธอก็จะยังคงเป็นหนี้เศรษฐีต่อไปอีกนาน
เราส่วนใหญ่ถูกสอนมาให้มองปัญหาแบบขาวกับดำ
แต่ไม่ใช่ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้อย่างขาวกับดำเสมอไป
ในทางตรงข้าม หากเราลองมองต่างมุม จะพบว่าหนทางการแก้ปัญหามีมากกว่าหนึ่งสายเสมอ และการยืดหยุ่นพลิกแพลงไปตามสถานการณ์เป็นวิธีการหนึ่ง
บางครั้งในการแก้ปัญหา เราอาจต้องสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหาขึ้นมาใหม่
ในยุคสงครามเย็นที่กินเวลานานหลายสิบปี สูญเสียชีวิตและทรัพยากรโลกมหาศาล ไม่มีใครกล้าเชื่อว่า สงครามเย็นสามารถยุติลงได้ หรือเร็วเช่นนี้ ในยุคของ มิคาอิล กอร์บาชอฟ
กอร์บาชอฟ กล่าวว่า
"เป็นเรื่องเขลาที่คิดว่า ปัญหาที่รุมเร้ามนุษยชาติในวันนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เคยใช้ได้ผลในอดีต"
หากเขาไม่ได้คิดเช่นนี้ บางทีวันนี้สังคมนิยมโซเวียตยังไม่เปิดประเทศและสันติภาพระหว่างฝ่ายขาว-ฝ่ายแดงคงล้าหลังไปอีกหลายปี
โลกไม่ได้มีเพียงแค่สีขาวกับดำ
ลูกสาวชาวนาเอื้อมมือลงไปในถุงผ้า
หยิบกรวดขึ้นมาหนึ่งก้อน พลันเธอปล่อยกรวดในมือร่วงลงสู่พื้น กลืนหายไปในสีดำและขาวของสวนกรวด
เธอมองหน้าเศรษฐี เอ่ยว่า "ขออภัยที่ข้าพลั้งเผลอปล่อยหินร่วงหล่น แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อท่านใส่กรวดสีขาวกับสีดำอย่างละหนึ่งก้อนลงไปในถุงนี้ ดังนั้นเมื่อเราเปิดถุงออกดูสีกรวดก้อนที่เหลือ ก็ย่อมรู้ทันทีว่า กรวดที่ข้าหยิบไปเมื่อครู่เป็นสีอะไร"
ที่ก้นถุงเป็นกรวดสีดำ
"...ดังนั้นกรวดก้อนที่ข้าทำตกย่อมเป็นสีขาว"
ชาวนาพ้นสภาพลูกหนี้และลูกสาวไม่ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกงคนนั้น
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "หากเราพยายามมากพอที่จะแก้ไขปัญหา เราจะพบว่าทุกปัญหาย่อมมีวิถีทางแก้ไขเสมอ"
เขาเชิญชาวนากับลูกสาวไปที่สวนในคฤหาสน์ของเขา เป็นสวนกรวดกว้างใหญ่ที่มีแต่กรวดสีดำกับสีขาว
เศรษฐีบอกชาวนาว่า "ท่านเป็นหนี้สินข้าจำนวนหนึ่ง แต่หากท่านยกลูกสาวให้ข้า จะยกเลิกหนี้สินทั้งหมดให้"
ชาวนาไม่ตกลง
เศรษฐีบอกว่า " ถ้าเช่นนั้นเรามาพนันกันดีไหม ข้าจะหยิบกรวดสองก้อนขึ้นมาจากสวนกรวดใส่ในถุงผ้านี้ ก้อนหนึ่งสีดำ ก้อนหนึ่งสีขาว ให้ลูกสาวของท่านหยิบก้อนกรวดจากถุงนี้ หากนางหยิบได้ก้อนสีขาว ข้าจะยกหนี้สินให้ท่าน และนางไม่ต้องแต่งงานกับข้า แต่หากนางหยิบได้ก้อนสีดำ นางต้องแต่งงานกับข้า และแน่นอน ข้าจะยกหนี้ให้ท่านด้วย"
ชาวนาตกลง
เศรษฐีหยิบกรวดสองก้อนใส่ในถุงผ้า หญิงสาวเหลือบไปเห็นว่ากรวดทั้งสองก้อนนั้นเป็นสีดำ
เธอจะทำอย่างไร?
หากเธอไม่เปิดโปงความจริง ก็ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกง หากเธอเปิดโปงความจริง เศรษฐีย่อมเสียหน้า และยกเลิกเกมนี้ แต่บิดาของเธอก็จะยังคงเป็นหนี้เศรษฐีต่อไปอีกนาน
เราส่วนใหญ่ถูกสอนมาให้มองปัญหาแบบขาวกับดำ
แต่ไม่ใช่ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้อย่างขาวกับดำเสมอไป
ในทางตรงข้าม หากเราลองมองต่างมุม จะพบว่าหนทางการแก้ปัญหามีมากกว่าหนึ่งสายเสมอ และการยืดหยุ่นพลิกแพลงไปตามสถานการณ์เป็นวิธีการหนึ่ง
บางครั้งในการแก้ปัญหา เราอาจต้องสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหาขึ้นมาใหม่
ในยุคสงครามเย็นที่กินเวลานานหลายสิบปี สูญเสียชีวิตและทรัพยากรโลกมหาศาล ไม่มีใครกล้าเชื่อว่า สงครามเย็นสามารถยุติลงได้ หรือเร็วเช่นนี้ ในยุคของ มิคาอิล กอร์บาชอฟ
กอร์บาชอฟ กล่าวว่า
"เป็นเรื่องเขลาที่คิดว่า ปัญหาที่รุมเร้ามนุษยชาติในวันนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เคยใช้ได้ผลในอดีต"
หากเขาไม่ได้คิดเช่นนี้ บางทีวันนี้สังคมนิยมโซเวียตยังไม่เปิดประเทศและสันติภาพระหว่างฝ่ายขาว-ฝ่ายแดงคงล้าหลังไปอีกหลายปี
โลกไม่ได้มีเพียงแค่สีขาวกับดำ
ลูกสาวชาวนาเอื้อมมือลงไปในถุงผ้า
หยิบกรวดขึ้นมาหนึ่งก้อน พลันเธอปล่อยกรวดในมือร่วงลงสู่พื้น กลืนหายไปในสีดำและขาวของสวนกรวด
เธอมองหน้าเศรษฐี เอ่ยว่า "ขออภัยที่ข้าพลั้งเผลอปล่อยหินร่วงหล่น แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อท่านใส่กรวดสีขาวกับสีดำอย่างละหนึ่งก้อนลงไปในถุงนี้ ดังนั้นเมื่อเราเปิดถุงออกดูสีกรวดก้อนที่เหลือ ก็ย่อมรู้ทันทีว่า กรวดที่ข้าหยิบไปเมื่อครู่เป็นสีอะไร"
ที่ก้นถุงเป็นกรวดสีดำ
"...ดังนั้นกรวดก้อนที่ข้าทำตกย่อมเป็นสีขาว"
ชาวนาพ้นสภาพลูกหนี้และลูกสาวไม่ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกงคนนั้น
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "หากเราพยายามมากพอที่จะแก้ไขปัญหา เราจะพบว่าทุกปัญหาย่อมมีวิถีทางแก้ไขเสมอ"