จากกระทู้ที่แล้วมาเห็นว่ามีผู้สนใจไม่น้อยเลยหามาลงเพิ่ม
อันนี้ได้มาจากคุณ เบน ชลาทิศ ครับผม
ลงเลยนะ^^
เตรียมความพร้อมของเสียงด้วยแบบฝึกหัด (ขั้นพื้นฐาน)
เพื่อผลของการฝึกที่ชัดเจน
รักษาท่าทางที่ถูกต้อง ยืนอย่างสบาย ไม่งอหลัง ไม่ควรพักเท้าไว้ข้างใดข้างหนึ่ง ยกหน้าอกขึ้นอย่างสง่า
ควรฝึกในสถานที่ที่เงียบ และอากาศบริสุทธิ์
มีทัศนะคติที่เป็นบวกกับหลักสูตร แบบฝึกหัดเหล่านี้ช่วยคุณได้จริงๆ ถ้าฝึกตามคำแนะนำ
จะสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมายอย่างแน่นอน
ตัดความเครียดออกไปให้หมด ทำทุกวิถีทางเพื่อการผ่อนคลาย ถ้าจำเป็นลองหายใจลึกๆ ยืดเส้น ยืดสาย
หรือแม้แต่การออกกำลังกายที่ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตคล่องขึ้น และกำจัดอาการเกร็ง (โยคะ น่าจะดี......)
แบบฝึกหัดที่ 1
บรื๋อ บรื๋อ บรื๋อ, รัว...รั...ว...ลิ้น (รู..ร..ด้วยสระ อู และรูปปากเป็นสระ อู จริงๆ)
Lip Rolls / Tongue Trills or Koo..Koo..Koo..
แบบฝึกหัดที่ 2
เน เน เน (Nay Nay Nay) ด้วยเสียงที่น่าเกลียดเหมือนเสียงแม่มด แต่ถ้ายังไม่ชัดเจน
หรือฝึกไปแล้วเกิดอาการเจ็บคอ ให้เปลี่ยนเป็น...
นิด นิด นิด (Nid Nid Nid โดยร้องทุกคำให้ สั้น ที่สุด และอย่าใช้วิธีการตะโกน แต่ยังคงรักษา อารมณ์เสียงของแม่มดไว้ให้ได้
เมื่อสามารถทำได้คล่อง แล้วลองกลับไปทำ เน เน เน อีกครั้ง แล้วถ้าคล่องมากขึ้น ให้ทดลองทำ..
แน แน แน โดยแลบลิ้นออกมา ขยับขากรรไกรล่างในขณะที่กำลังเปล่งเสียง เสมือนหนึ่งว่า กำลังสับฟันลงบนลิ้นตัวเอง
ด้วยเสียง แน แน แน ยังคงรักษาอารมณ์เสียงของแม่มดไว้ให้ได้
ย้ำ.! ไม่ใช่เป็นการตะโกน
ย้ำ.! อย่าไถเสียงขึ้นจมูกเด็ดขาด
ย้ำ.! ฝึกปรับระยะการทำงานของสายเสียง (Vocal Cords Adjustment)
ย้ำ.! ฝึกความแข็งแรงของสายเสียง (Building Strength)
ข้อแนะนำในการฝึก
ไม่เหมาะกับบางคนที่มีเสียงแหบเรื้อรัง และเด็กผู้ชายที่เสียงเริ่มแตกหนุ่ม
เมื่อฝึกต้องพยายามเลียน “เสียงแม่มด” (Witchy Sound) หรือเสียงที่น่าเกลียด (Nasty Sound)
โดยไม่ไถเสียงขึ้นจมูกและไม่ตะโกน
ด้วยเหตุผลที่ว่า
เรากำลังฝึกปรับระยะความสั้น – ยาวของสายเสียงเพื่อความคล่องตัวในการสั่น นั่นคือเมื่อ เสียงต่ำๆ สายเสียงจะหนา และเมื่อต้องการให้เสียงสูงขึ้น จึงต้องฝึกให้สายเสียงยืดตัวออก เราจึงได้ สายเสียงที่บางลง ซึ่งง่ายต่อการสั่นในความถี่ที่เร็วขึ้นเพื่อการร้อง ในตัวโน้ต
ที่สูงขึ้นไป (อาจลองนึกถึงสายกีตาร์ สายที่ตึงจะให้เสียงที่เล็กและบาง)
แนวคิดของการเลียนเสียงแม่มด เป็นกลอุบายที่หลอกให้กล้ามเนื้อสายเสียง เกิดความเคยชิน เมื่อถ้าทำอย่างสม่ำเสมอ และ
ต่อเนื่องโดยไม่เป็น การตะโกนหรือไถเสียงให้ขึ้นจมูก ลักษณะของเสียงก็จะมีความแข็งแรง ขึ้นเป็นลำดับ.....อดทนนะครับ (Be patience)
เมื่อมีอาการเจ็บคอ เป็นหวัด หรือไม่สบายไม่ควรฝึกแบบฝึกหัดนี้ และมีข้อจำกัดสำหรับผู้ชายบางคนที่อาจจะทำแบบฝึกหัดนี้
ได้ไม่ถนัด ให้ปรึกษาโค้ชที่เข้าใจหลักสูตร Speech – Level
เมื่อฝึกแล้วมีอาการคอแห้ง แสบคอ หรือเจ็บคอ ต้องลองเช็ควิธีออกเสียงว่า ใช่อารมณ์เสียงแม่มดหรือเปล่า หรือว่าเป็นการตะโกน หรือรีบปรึกษาโค้ช
เมื่อฝึกจนคล่องแล้ว ควรฝึกแบบฝึกหัดในกลุ่มต่อไปได้
แบบฝึกหัดที่ 3
มัม มัม มัม (Mum Mum Mum) โดยใช้เทคนิคเลียนเสียงร้องไห้ และ เสียงคราง
(Cry & Whimper Technique) ซึ่งอาจทดลองทำแบบฝึกหัดดังต่อไปนี้
(a) mum mum mum, etc.
(b) guh guh guh, etc.
(c) go go go, etc.
(d) gee gee gee, etc.
(e) koo koo koo, etc.
(f) , etc.
ข้อแนะนำในการฝึก
ทุกตัวของแบบฝึกในกลุ่มนี้ต้องใช้อารมณ์เหมือนการร้องไห้ หรือการคราง การทำเสียงร้องไห้ หรือการครางเป็นการช่วยบังคับให้ตำแหน่งของกล่องเสียงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ แต่ใกล้เคียงกับระดับที่ต้องการคือ Speech Level จึงทำให้การฝึกในแบบฝึกหัดแรก
ทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสายเสียงไม่ถูกรบกวนจากกล้ามเนื้อที่ไม่เกี่ยวข้อง และแน่นอนต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตำแหน่งของ
กล่องเสียงอยู่นิ่ง จึงทำให้การปรับระยะการทำงานของสายเสียงถูกต้องและเป็นอิสระ แต่ต้องระวัง... การบังคับกล่องเสียงให้ต่ำกว่าปกติด้วยการร้องไห้หรือการคราง เป็นเพียงแบบฝึกหัดเท่านั้นเอง การครางหรือร้องไห้ในบทเพลงมากเกินไป ทำให้คำร้อง
ไม่ชัดเจนได้ ดังนั้นเราจึงฝึกผ่านการทำแบบฝึกหัดและเมื่อกล่องเสียงเคยชินกับวิธีการนี้ การรั้งตำแหน่งกล่องเสียงด้วยการร้องไห้ หรือ
การคราง ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
ขอบคุณ www.thaisinging.com สำหรับข้อมูลครับผม
ป.ล. มีต่อถ้าเสียงตอบรับดีจะลงบท2 - 3 - 4