“พาลาดิน” (Paladin) หลายๆคนอาจเคยได้ยินคำว่า “พาลาดิน” (Paladin) มาแล้วจากสื่อประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเกมออนไลน์ ซึ่งคำว่า “พาลาดิน” (Paladin) นั้นมักถูกนำมาใช้ในความหมายของอาชีพอัศวินศักดิ์สิท ธิ์ (Holy Knight) อันเป็นตัวละครที่มักมีบทบาทในฐานะผู้ปกป้องตัวละครอ ื่นๆในเกมเสมอแต่รู้หรือไม่ว่า “พาลาดิน” (Paladin) นั้นมีที่มาอย่างไร? แล้วทำไมจึงต้องนำคำๆนี้มาใช้ในความหมายดังกล่าว? คอลัมน์นี้จะอธิบายถึงความหมายและความเป็นมาของคำว่า “พาลาดิน” (Paladin)โดยสังเขป
“พาลาดิน” (Paladin) มาจากไหน? ที่มาของคำว่า “พาลาดิน” (Paladin) นั้น สามารถสืบสาวกลับไปถึงสมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจโ ดยที่มาของคำๆนี้ มาจากภาษาละตินว่า “พาลาตินุส” (Palatinus) ซึ่งมีความหมายว่า “อยู่เคียงคู่กับเนินเขาพาลาไทน์” (Belonging to the Palatine hill) “พาลาไทน์” (Palatine) คือนามของหนึ่งในเนินเขาทั้งเจ็ดอันเป็นที่ตั้งของกร ุงโรม นครหลวงของจักรวรรดิโรมัน และยังเป็นที่ตั้งของราชสำนักในองค์จักรพรรดิโรมัน ซึ่งได้สร้างขึ้นในรัชสมัยของออกุสตุส ซีซาร์ จักรพรรดิพระองค์แรก (คำว่า พาเลซ (Palace) ซึ่งมีความหมายว่า “พระราชวัง” ก็มีรากศัพท์มาจาก “พาลาไทน์” (Palatine) เช่นกัน) ดังนั้นในยุคแรกเริ่ม ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “พาลาดิน” (Paladin) จึงหมายถึง “เหล่าผู้ปกป้องราชสำนักของจักรพรรดิโรมัน” หรือก็คือ เหล่าราชองครักษ์ของจักรพรรดิโรมันที่เรารู้จักกันใน นามว่า “เพรโตเรี่ยนการ์ด” (Praetorian guard)นอกจากนี้คำว่า “พาลาดิน” (Paladin) ยังอาจมีที่มาจากตำแหน่งสมุหราชมณเฑียรของราชสำนักโร มัน (Comes palatinus อ่านว่า โคเมส พาลาตินุส) อีกด้วย
แล้วมาเป็น “พาลาดิน” (Paladin) ได้อย่างไร? ภายหลังจักรวรรดิโรมันล่มสลาย บทบาทของสมุหราชมณเฑียรและเหล่าราชองครักษ์ของราชสำน ักโรมันก็ได้สิ้นสุดลง จนกระทั่งมาถึงในสมัยกลาง (Middle Ages) เมื่อโคลวิส (Clovis) กษัตริย์ที่เข้มแข็งพระองค์หนึ่งของชนเผ่าแฟรงค์ (Frank) แห่งราชวงศ์เมโรวิงเจียน (Merovingian) ผู้สถาปนาราชอาณาจักรแฟรงค์ (ซึ่งจะกลายมาเป็นประเทศฝรั่งเศสในเวลาต่อมา) ได้โปรดให้นำธรรมเนียมบางอย่างของราชสำนักโรมันเดิมก ลับมาใช้ซึ่งรวมถึงการตั้งตำแหน่งสมุหราชมณเฑียร (Count Palatine ซึ่งมาจาก Comes palatinus ภายหลังกลายเป็นคำว่า Chamberlain) ขึ้น และยังโปรดให้ตั้งกองทหารราชองครักษ์แห่งราชสำนักแฟร งค์อีกด้วย (รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของ เพรโตเรี่ยน การ์ด (Praetorian guard))
คำว่า “พาลาดิน” (Paladin) ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในรัชสมัยของชาร์ลมาญ (Charlemange) กษัตริย์ชนเผ่าแฟรงค์แห่งราชวงศ์คาโรลิงเจียน (Carolingian) ผู้สถาปนาจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งในนามว่า “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” (Holy Roman Empire) (จักรวรรดิโรมันภายใต้อาณัติของคริสตจักรโรมันคาทอลิ ก) ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่รัชสมัยของชาร์ลมาญ พระองค์ได้ทำการขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนไป กระทบกระทั่งกับพวกมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรีย (ประเทศสเปนในเวลาต่อมา) และเหล่าอัศวินองครักษ์ของพระองค์ก็ได้มีบทบาทอย่างม ากในการรบกับพวกมุสลิม (ซึ่งเป็นสงครามศาสนาในยุคแรกๆ) จนกลายเป็นตำนานเล่าขานกันในหมู่อัศวินและกวีผู้นับถ ือคริสต์ศาสนาของยุโรปยุคหลังซึ่งได้เรียกพวกเขาว่า “เหล่าพาลาดินทั้งสิบสองของชาร์ลมาญ” (The twelve paladins of Charlemagne)
บทเพลงแห่งโรลองด์ (Chanson de Roland) : วีรกรรมของเหล่าพาลาดิน (Paladins) ท่ามกลางหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่ตกทอดจากสม ัยกลางในรูปแบบต่างๆ ทั้งบันทึก บทกวีและงานเขียนวิชาการ ที่กล่าวถึงการกระทำของเหล่าพาลาดินแห่งราชสำนักแฟรง ค์ในรัชสมัยชาร์ลมาญแล้ว บทเพลงแห่งโรลองด์ (Chanson de Roland) ซึ่งเชื่อว่าประพันธ์ขึ้นในราวคริสต์วรรษที่ 12 – 14 (แต่ไม่ปรากฏนามผู้ประพันธ์) นับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ได้กล่าวถึงวีรกรรมของเหล ่าพาลาดิน (Paladins) ไว้ โดยบทเพลงนี้ได้กล่าวถึงวีรกรรมของโรลองด์ (Roland) ผู้เป็นหัวหน้าของสิบสองพาลาดินและมีศักดิ์เป็นหลานช ายของชาร์ลมาญว่า เป็นอัศวินผู้ยอมสละชีพของตนเพื่อปกป้องกองทัพแฟรงค์ จากการตามตีของพวกมุสลิมในสเปน ให้สามารถถอยทัพออกจากช่องเขาพิเรนิส (Pyreness pass) ได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้หลักฐานชิ้นดังกล่าวยังระบุถึงนามของเหล่าพ าลาดิน (Paladins) ทั้งหมดไว้อีกด้วย ดังนี้
1.โรลองด์ (Roland) หลานของชาร์ลมาญ หัวหน้าของเหล่าพาลาดิน (Paladins) เสียชีวิตในสมรภูมิไอบีเรีย
2.โอลิเวอร์ (Oliver) สหายของโรลองด์ เป็นผู้ทรงภูมิปัญญา ได้รับบาดเจ็บจากสมรภูมิไอบีเรีย
3.เกอริน (Gerin) เสียชีวิตในสมรภูมิไอบีเรีย
4.เกอเรียร์ (Gerier) เสียชีวิตในสมรภูมิไอบีเรีย
5.เบเรงเกียร์ (Berengier) เสียชีวิตในสมรภูมิไอบีเรีย
6.ออตตัน (Otton) ปรากฏชื่อแต่ไม่ทราบรายละเอียด
7.แซมซัน (Samson) ปรากฏชื่อแต่ไม่ทราบรายละเอียด
8.แองเกเลียร์ (Engelier) ปรากฏชื่อแต่ไม่ทราบรายละเอียด
9.อีวอน (Ivon) ปรากฏชื่อแต่ไม่ทราบรายละเอียด
10.อีวอยเร่ (Ivoire) ปรากฏชื่อแต่ไม่ทราบรายละเอียด
11.อังเซย์ส (Anseis) ปรากฏชื่อแต่ไม่ทราบรายละเอียด
12.กีราร์ด (Girard) ปรากฏชื่อแต่ไม่ทราบรายละเอียด
ภาพเขียนถึงเหตุการณ์ที่โรลองด์เสียชีวิตสรุป จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงพอจะสรุปได้ว่า คำว่า “พาลาดิน” (Paladin) นั้นเดิมมีความหมายในฐานะของราชองครักษ์ และต่อมาเมื่อมีการผสมผสานกับความคิดความเชื่อใหม่คื อคริสต์ศาสนา และเรื่องราวเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจของผู้คนในยุโรปช ่วงเวลานั้น คำว่า “พาลาดิน” จึงกลายมามีความหมายที่เรารู้จักกันดีว่า “อัศวินศักดิ์สิทธิ์ผู้ต่อสู้กับคนนอกรีต (อาจเป็นมารหรือซาตาน) เพื่อปกป้องคริสต์ศาสนา” ซึ่งเป็นความหมายที่แพร่หลายกันตามสื่อต่างๆในปัจจุบ ัน โดย ฝ่ายวิชาการที่อ้วนที่สุดในโลก