หนุ่ม-สาวที่เป็นคู่รักกัน และลงเอยด้วยการแต่งงานกันในยุคปัจจุบันนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การจะใช้ดุลพินิจในการเลือกคู่ครอง ก็มักจะดูนิสัยใจคอ ความไปกันได้ทุกๆด้าน
และแน่นอนทุกคู่ย่อมต้องการอยู่ร่วม กันอย่างมีความสุขตลอดไป ไม่ต้องการหย่าร้างให้เป็นปมด้อยและเป็นปัญหากับลูกรัก แต่ในสมัยโบราณเชื่อว่า นอกจากข้อมูลต่างที่ศึกษากันระหว่างหนุ่ม-สาวว่า จะอยู่ด้วยกันได้หรือไม่แล้ว การ ที่มีหน้าตาคล้ายกันนั้นย่อมหมายถึงการเป็นเนื้อคู่อย่างแท้จริง ถึงกับมีการยินยอมยกให้กันหลังจากดูใจกันได้ไม่นาน หรือศึกษานิสัยกันเพียงเล็กน้อยนั้น เพราะเชื่อว่าถึงอย่างไรก็คือ เนื้อคู่กัน จะแยกจากกันไม่ได้
ถ้าไม่พูดถึงการดึงดูดของ เพศตรงข้าม เราจะชอบคนที่ลักษณะท่าทางดูเหมือนกับเรา เพราะว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะมีบุคลิกที่คล้ายคลึงกับเราด้วย และจากการศึกษาพบว่า ถ้าเราอยู่กับใครเป็นระยะเวลานานๆ แล้ว เราจะดูคล้ายคนๆ นั้นมากขึ้น
นักวิจัยได้ทำการสำรวจว่าทำไมคู่ชีวิต จึงมักมีหน้าตาที่คล้ายกัน พวกเขาได้สอบถามผู้เข้าร่วมการวิจัยชาย 11 คน และหญิง 11 คน ถึงคู่ชีวิต 160 คู่ในชีวิตจริง ที่มีความน่าดึงดูดของบุคลิกลักษณะ โดยให้ดูรูปของสามีและภรรยาแยกกัน โดยที่ผู้เข้าร่วมทดสอบไม่ทราบว่าคนไหนแต่งงานกับคนไหน
ผลการทดสอบ ผู้เข้าร่วมได้ให้คะแนนหญิงและชายที่เป็นคู่ชีวิตกันจริงๆ ว่ามีลักษณะที่เหมือนกันและมีบุคลิกที่คล้ายคลึงกัน และคู่ที่อยู่ด้วยกันนานก็มีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น นักวิจัยได้คาดว่าการได้มีประสบการณ์ร่วมกันอาจมีผลกับหน้าตาของคู่ชีวิต ทั้งคู่
เหตุผลทางชีววิทยา
Tony Little จากมหาวิยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า ความคิดที่ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างหน้าตาและบุคลิกภาพอาจดูแปลกใน ตอนแรก แต่ก็มีเหตุผลทางชีววิทยาที่เชื่อมโยงความคิดนี้
เขากล่าวว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของใบหน้าของผู้ชาย และมีผลต่อพฤติกรรมด้วย ดังนั้นการแสดงออกของอารมณ์บนใบหน้าของเรา และการแสดงออกทางอารมณ์เป็นระยะเวลานานอาจทำให้มันติดอยู่บนหน้าเรา ตัวอย่างเช่น คนที่ยิ้มมากๆ ใบหน้าก็อาจแสดงเส้นสายและกล้ามเนื้อที่บอกว่าเป็นคนที่มีความสุข
มีการศึกษาอื่นๆ ได้แสดงว่าคู่ที่ มีพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกัน มีแนวโน้มที่จะเป็นคู่แต่งงานที่มีความสุขมากกว่า บุคลิกภาพและลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกันอาจเป็นทางหนึ่งที่วัดถึงความ คล้ายคลึงกันทางพันธุกรรมด้วย
การศึกษาใหม่ ซึ่งรายละเอียดจะตีพิมพ์ในวารสาร Personality and Individual Differences เดือนมีนาคม ชี้ว่าคนเคราถ้าใช้การมองดูลักษณะใบหน้าเพื่อที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับบุคลิก ของใครนั้น อาจมีความผิดพลาดถ้ามีการดูหน้าที่มากหน้าหลายตา อย่างไรก็ตามการตัดสินใจนั้นจึงเป็นที่ตาและรอยยิ้ม รอยยิ้มเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะบอกว่าคนๆ นั้นมีความเป็นมิตรมากน้อยแค่ไหน และตาก็เป็นจุดที่ให้ความสนใจ เขากล่าว
รูป ร่างโครงหน้าทั้งหมดก็มีความสำคัญเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คางที่ใหญ่ ที่เกิดจากการรวมตัวของกล้ามเนื้อ และช่วงสันจมูกถึงคิ้วก็สามารถแสดงอารมณ์ของความไม่เห็นด้วยและความไม่เต็ม ใจในการร่วมมือได้
ขณะนี้นักวิจัยได้มองหาคนที่โสดและมีส่วนร่วมใน การศึกษาในการสืบสาวว่าลักษณะทางกายภาพและบุคลิกภาพของแต่ละคนมีอิทธิพลกับ ความชอบส่วนบุคคลหรือไม่ รายละเอียดงานวิจัยนี้อาจเข้าไปดูได้ที่
http://www.alittlelab.com/ เครดิต ipostza