ใกล้ปีใหม่แล้ว...เอาประวัติขนมไทยมาให้อ่าน ขนมไทยเราก้อน่ากิงนะจ้ะ อิอิ
ขนมจ่ามงกุฎ
ประวัติความเป็นมาของขนมไทย....อาหารว่างโบราณ
"ข้าวนม" "เข้าหนม" "ข้าวหนม" ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า"ขนม"
สำหรับ"เข้าหนม"นั้น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
"หนม" เพี้ยนมาจาก"เข้าหนม" เนื่องจาก"หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ในพจนานุกรมไทยมีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม"
แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า"หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือ
เมื่ออยู่โดดๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด
ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิและคนไทยเองก็ได้ชื่อว่า
เป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ
ขนมต้ม
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทย
ก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง
ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมทองเอก
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี
-ขนมฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน
-ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
-ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู
-ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
หรุ่ม(หรือล่าเตียง)
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย
ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง(หรุ่ม)
สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก
ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ
ขนมลืมกลืน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้เอง
แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก
ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์
ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระ อันประกอบด้วย
ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว
ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ
ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
มังกรคาบแก้ว
เป็นของว่างแบบไทยโบราณ ที่มีส่วนผสมระหว่างหมูบดกับส้มเขียวหวาน
การแบ่งประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้
- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้วและกะละแม
-ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
-ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
-ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
-ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
-ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม
ขนมช่อม่วง
เป็นขนมไทยโบราณที่เป็นของกินเล่น
มีส่วนผสมของ แป้ง หัวกะทิ น้ำมะนาว น้ำดอกมะลิ
และน้ำดอกอัญชัญเพื่อให้แป้งเป็นสีม่วง และมีใส้อยู่ด้านใน
ขนมเรไร
ขนมสำปันนี
ขนมต้มของชาวภาคใต้
ในเทศกาลงานบุญ เช่น ทำบุญวันสารทเดือนสิบ
ข้าวตู
ข้าวตูเป็นขนมไทยโบราณ ที่ทำขึ้นจากส่วนผสมของข้าวตาก
น้ำตาลปึก มะพร้าวทึนทึกขูดละเอียด และน้ำดอกไม้
ขนมเสน่ห์จันทร์
เป็นขนมที่มีส่วนผสมของแป้ง ไข่ไก่ กะทิ ลูกจันทน์ป่น
ขนมกล้วย
พวงประทัด
เป็นของว่างโบราณหากินยาก ลักษณะเป็นพวงคล้ายประทัด
ม่าฮ่อ
ม้าฮ่อคือของว่างไทยโบราณ แต่เดิมเป็นขนมเคียงกินแกล้มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัด
นิยมทำในเทศกาลงานบุญและเป็นอาหารในพิธีต่างๆ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น
โดยเฉพาะชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ
ม้าฮ่อคือผลไม้รสเปรี้ยว หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ โรยด้วยไส้คล้ายกับสาคูไส้หมู
ไส้ที่ว่านี้เปรียบเสมือนพริกเกลือในปัจจุบัน ที่เอาไว้ทานกับผลไม้รสเปรี้ยว
ขนมหน้านวล หรือ ขนมทองโปร่ง
ขนมไข่แมงดา
เป็นขนมหวานซึ่งมีส่วนผสมของแป้ง ไข่ ซึ่งใช้ทั้งไข่ไก่และไข่เป็ด
ผสมกับน้ำตาลทรายและน้ำดอกไม้
ขนมกระเช้าสีดา
มีส่วนประกอบที่สำคัญคือตัวกระเช้า มาจากส่วนผสมของแป้งสาลีกับไข่แดง
ขนมในกระเช้า ทำจากส่วนผสมของมะพร้าวทึนทึก น้ำตาลทราย น้ำดอกไม้
หน้าตาและสีสันอันงดงามอื่น ๆ ของขนมไทยในปัจจุบัน
เห็นแบบนี้แล้ว ไม่ต้องไปซื้อขนมต่างประเทศกินเลย ขนมอร่อยๆสีสันสดใส อยู่ใกล้ๆเราแท้ อิอิ น่ากินจัง