ขอแสดงความเห็นหน่อยนะครับ เรื่องเจตนาของทางทีมงานนั้นกระผมไม่สงสัยแต่อย่างใดนะครับ
แต่อยากติงเรื่องการใช้ภาษาโดยเฉพาะครูอุ้ยเป็นครูบาอาจารย์มาก่อน
การใช้ภาษาก็ควรใช้ให้ถูกต้องด้วยคำว่า "เธอว์" เนี่ยในพจนานุกรมมันแปลว่าอะไรเหรอครับ
เรื่องวัฒนะธรรมการสืบสานนั้น ณ.ปัจจุบันก็ต้องยอมรับนะครับว่าต้องปรับให้ทันในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
ขอยกเรื่องที่หลายๆท่านยกมานะครับ การนำหัวโขน หนังตะลุง หรืออะไรก็ตามที่แสดงถึงวัฒนธรรมของไทย
มาทำในขนาดที่เล็กลงหรือทำขนาดเท่าเดิมเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและขายให้กับนักท่องเที่ยวเนี่ย
แล้วบอกว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรม มันถูกต้องจริงๆเหรอครับ หรือว่าทำออกมาเพื่อการค้าอย่างเดียวกันแน่
สิ่งของเหล่านั้นเป็นของมีครูมีประวัติความเป็นมาเป็นสิ่งที่เคารพบูชา
แต่ถามซักนิดนะครับว่าได้มีการให้ข้อมูลนั้นกับนักท่องเที่ยวบ้างรึไม่คนไทยไม่เท่าใหร่
คนต่างชาติที่มาซื้อน่ะคนขายเคยที่จะให้ความรู้เรื่องราวความเป็นมาเหล่านั้นบ้างรึป่าวครับ
ผมก็เห็นตั้งหน้าตั้งตาขายกันอย่างเดียวเอากำไรลงกระเป๋าสร้างความมั่งคั้งให้กับตัวเอง
แล้วถ้าไม่มีคำแนะนำในสิ่งเหล่านั้นเค้าจะรู้รึไม่ว่ามันเป็นของที่มีคู่มากับคนไทยเป็นวัฒนธรรมของคนไทยเป็นสิ่งที่เราให้ความเคารพหวงแหน
ที่อื่นผมไม่รู้นะ แต่ที่ผมเคยอ้างมา วัดพระธาตุนครศรีธรรมราชและที่พัทลุง เค้าทำมาในลักษณะนั้นก็จริง
แต่ก็มีป้ายประวัติและการให้ข้อมูลอยู่ อีกอย่างคนที่ขายก็ไม่ใช่ประเภทรับมาขาย แต่เป็นการผลิตจากคนในครอบครัว
ซึ้งจะเรียกว่า อุตสหกรรมในครัวเรือนก็คงจะได้ แต่คงไม่ได้หวังผลทางการค้าอย่างเดียวแน่ๆ
เจตนาที่จะสืบสานให้วัฒนธรรมต่างๆคงอยู่มีล้นอยู่ในสายเลือดช่างฝีมือเหล่านี้แน่นอนคับ แต่จะให้สืบสานเผยแพร่ด้วยการทำแจกฟรีมีการให้ข้อมูลก็คงจะยาก
ถ้าทางคนใหญ่คนโตให้การสนับสนุนมากกว่านี้ เชื่อว่าให้ทำฟรีๆคงได้อยู่แล้วคับ เพื่อนแม่ผมก็เป็นนายหนังตะลุง ผมยังเคยไปฝึกทำเลย แต่ยากจริงๆ
และยังมีศิลปินท้องถิ่นหลายๆท่านเลยด้วย ที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน แต่เพราะอะไรที่ทำให้การเผยแพร่ถูกบังคับมาให้เป็นไปในลักษณะนี้ล่ะคับ
1 คนใหญ่คนโตให้การสนับสนุนน้อยเกินไป ศิลปินพื้นบ้านจะมีทุนอะไรมากมายไปเผยแพร่ให้เป็นที่นิยม
2 สื่อต่างๆ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมพื้นบ้านน้อยเกินไป โถมกันไปโฆษณาเผยแพร่แต่วัฒนธรรมต่างชาติ
3 เนื่องด้วยเหตุผลข้างต้น จึงทำให้เยาวชนรุ่นใหม่รู้จักวัฒนธรรมท้องถิ่นน้อย หรือแทบจะไม่รู้จักเลย เมื่อไม่รู้จักก็ไม่รู้จะมาเรียนรู้ อนุรักษ์และเผยแพร่ต่อยังไง
4 ช่องทางที่ผู้พอจะรู้จัก หาทางมาช่วยเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รู้จัก ก็ถูกมองจากคนต่างความคิดว่าเป็นการลบหลู่ ดูหมิ่นครูบาอาจารย์ของสิ่งนั้นซะแบบนี้ไงคับ
ผมก็อยากรู้เหมือนกัน ว่าคนที่มีความคิดแตกต่าง มีวิธีการนำเสนอเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนและคนทั่วไปรู้จักวัฒนธรรมต่างๆอย่างไรบ้าง
ที่ผมเห็นส่วนใหญ่ก็อนุรักษ์กันแค่ลมปากเท่านั้นเอง ขัดขาคนอื่นว่าวิธีการแบบนี้ไม่เหมาะสม ดูหมิ่นครู ลบหลู่อาจารย์ อย่างนั้นอย่างโน้น
แต่ถามตัวท่านเองว่าควรทำอย่างไร ท่านเองก็ตอบไม่ได้ ไม่มีแนวทางวิธีการ คิดไม่ออกเหมือนกัน ผมไม่อยากจะใช้คำว่า
"มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ" กับคนเหล่านี้เลยจริงๆ บรรดาไก้นำเทียวเนี่ยพานักท่องเที่ยวมาผมไม่ทราบว่าให้ข้อมูลของสถานที่อย่างเดียวรึว่าให้ข้อมูลของแบบจำลองวัฒนธรรม(ขออนุญาติใช้แบบจำลองนะครับ)ด้วยรึป่าว
ถ้าไม่ก็ควรเพิ่มเข้าไปด้วยก็ดีนะครับ ชาวต่างชาติเค้าไม่รู้หลอกนะครับว่าเราหวงแหนอะไรบ้างในประเทศเรามีแต่เราเองเท่านั้นต้องบอกเค้า
มิฉนั้นสิ่งที่ทุกท่านได้กล่าวมาว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน จะเป็นแค่เพียงสิ่งของที่ซื้อได้ด้วยเงินไม่ได้มีค่าอะไรสำหรับชาวต่างชาติ
อันนี้ผมเห็นด้วยนะ วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ซื้อได้ด้วยเงิน แต่วัฒนธรรมต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้
แล้วถามว่า ทำยังไงให้มีคนเข้าถึงวัฒนธรรมเหล่านี้ได้ ในเมื่อส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้จักว่ามีสิ่งเหล่านี้อยู่รอบๆตัวเองเลย
กลายเป็นว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่สงวนไว้เพื่อคนกลุ่มเล็กๆ คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้ามารู้จักได้ เนื่องจากถูกปิดกั้นช่องทางนำเสนอต่างๆ
แค่มีคำว่า "เงิน" เข้ามาเกี่ยวข้อง ท่านก็จ้องจะขัดขวางทุกวิถีทาง ด้วยเชื่อกันว่า วัฒนธรรมต้องไม่ใช่สิ่งที่ซื้อได้ด้วยเงิน
แล้วท่านมีทางอื่นที่ดีกว่านี้แล้วหรือไม่ มีทางออกสำหรับสิ่งที่ท่านมองว่าเป็นปัญหานี้หรือยัง ผมก็ยังอ้างด้วยคำที่บอกไปแล้วข้างต้นนั่นแหละ ผมเห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้นะครับที่ว่าประเพณีวัฒนธรรมไทยจึงได้เสื่อมลง
แต่ผมก็อยากบอกเช่นกันว่าคนไทยที่รักและต้องการให้วัฒนธรรมของชาติคงอยู่แบบคุณ
เค้าก็พยายามสืบสานสิ่งเหล่านี้ไว้ไม่ใช่ปล่อยไว้บนหิ้งที่จับต้องไม่ได้แล้วทิ้งไว้ให้เหลือเพียงคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนเท่านั้น
ถึงแม้บางอย่าอาจเกินเลยไม่ถูกไม่ควรแต่ก็เพื่อส่งต่อวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ต่อไปนะครับและอีกอย่างนะครับ
ถูกต้องแล้วคับ ต่างความคิด ต่างวิธีการ แต่ผลลัพธ์เหมือนกัน
แค่อาจไม่ถูกใจคนที่มีความเชื่อแตกต่างกัน ส่วนนี้ผมว่าคงต้องมาพูดกันให้ชัดเจน
หาวิธีการที่เหมาะที่ควรและ "เป็นไปได้" มากกว่าจะมาติกันว่าโน่นไม่ดี นี่ไม่ควร
สุดท้ายก็ไม่เหมาะซักวิธีการ แล้ววัฒนธรรมก็จะสูญหายกลายเป็นตำนานที่เหลือเพียงการพูดถึงไม่สามารถหาดูจับต้องได้อีกต่อไปชาวไต้รึชาวอีสาน ชาวเหนือ ชาวภาคกลาง คนกรุง ผมว่ามันก็คนไทยคนชาติเดียวกับคุณนั่นแหละครับ คุณจะเถียงข้อนี้ก็ได้นะครับผมจะได้รู้ว่าคุณคือใคร
*ปล.ภาษาของผมก็อาจจะไม่ถูกต้องครบถ้วนนะครับ แต่กระผมก็พยายามพิมพ์ให้ถูกที่สุด ยาวไปหน่อยแต่ผมรู้สึกแบบนี้จริงๆ